วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

จังหวัดสตูล

จังหวัดสตูล


๑)     ความเป็นมาของจังหวัดสตูล
      สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สตูลเป็นเพียงตำบลหนึ่งอยู่ในเขตเมืองไทรบุรี ฉะนั้นประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล จึงเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเมืองไทรบุรี ดังปรากฎในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ว่า "ตาม เนื้อความที่ปรากฏดังกล่าวมาแล้ว ทำให้เห็นว่าในเวลานั้น พวกเมืองไทรเห็นจะแตกแยกกันเป็นสองพวก คือ พวกเจ้าพระยาไทรปะแงรันพวกหนึ่ง และพวกพระยาอภัยนุราชคงจะนบน้อมฝากตัวกับเมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะเมื่อพระยาอภัยนุราชได้มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูล ซึ่งเขตแดนติดต่อกับเมืองนครศรีธรรมราช พวกเมืองสตูลคงจะมาฟังบังคับบัญชาสนิทสนมข้างเมืองนครศรีธรรมราชมากกว่า เมืองไทร แต่พระยาอภัยนุราชว่าราชการเมืองสตูลได้เพียง  ๒ ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม ผู้ใดจะได้ว่าราชการเมืองสตูล ต่อมาในชั้นนั้นหาพบจดหมายเหตุไม่ แต่พิเคราะห์ความตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เข้าใจว่าเชื้อพระวงศ์ของพระอภัยนุราช (ปัศนู) คงจะได้ว่าราชการเมืองสตูลและฟังบังคับบัญชาสนิทสนมกับเมืองนครศรีธรรมราช อย่างครั้งพระยาอภัยนุราชหรือยิ่งกว่านั้น"
      ใน ปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เมืองสตูลก็มีฐานะยกเป็นจังหวัดหนึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทยสืบต่อมาจนถึง กระทั่งทุกวันนี้
      คำว่า"สตูล" มาจากคำภาษามาลายูว่า "สโตย" แปลว่ากระท้อน อันเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่เมืองนี้ ซึ่งต่อมาได้รับการตั้งสมญานามเป็นภาษามาลายูว่า "นครสโตยมำบังสการา (Negeri Setoi Mumbang Segara) " หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา  ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้
      จังหวัด สตูล แม้จะอยู่รวมกับไทรบุรีในระยะเริ่มแรกก็ตาม แต่จังหวัดสตูลก็เป็นจังหวัดที่มีดินแดนรวมอยู่ในประเทศไทยตลอดมา ระยะแรก ๆ จังหวัดสตูล แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒ อำเภอ กับ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอมำบัง อำเภอทุ่งหว้า และกิ่งอำเภอละงู ซึ่งอยู่ในการปกครองของอำเภอทุ่งหว้า ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอมำบังเป็นอำเภอเมืองสตูล สำหรับอำเภอทุ่งหว้า ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก มีเรือกลไฟจากต่างประเทศติดต่อ ไปมาค้าขายและรับส่งสินค้าเป็นประจำ สินค้าสำคัญของอำเภอทุ่งหว้า คือ "พริกไทย" เป็นที่รู้จักเรียกตามกันในหมู่ชาวต่างประเทศว่า"อำเภอสุไหวอุเป " ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๗ การปลูกพริกไทยของอำเภอทุ่งหว้าได้ลดปริมาณลง ชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำการค้าขายต่างพากันอพยพกลับไปยังต่างประเทศ ราษฎรในท้องที่ก็พากันอพยพไปหาทำเลทำมาหากินในท้องที่อื่นกันมาก โดยเฉพาะได้ย้ายไปตั้งหลักแหล่งที่กิ่งอำเภอละงูมากขึ้น ทำให้ท้องที่กิ่งอำเภอละงูเจริญขึ้นอย่างรวมเร็ว และในทางกลับกัน ทำให้อำเภอทุ่งหว้าซบเซาลง

     ครั้ง ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ ทางราชการพิจารณาเห็นว่ากิ่งอำเภอละงูเจริญขึ้น มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นกว่าอำเภอทุ่งหว้า จึงได้ประกาศยกฐานกิ่งอำเภอละงูเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอละงู และยุบอำเภอทุ่งหว้าเดิมเป็นกิ่งอำเภอทุ่งหว้า เรียกว่า กิ่งอำเภอทุ่งหว้า ขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอละงู ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ กิ่งอำเภอทุ่งหว้าจึงได้รับสถานะเดิมกลับคืนมาเป็นอำเภอทุ่งหว้า
ปัจจุบันจังหวัดสตูล แบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ  คือ
          ๑. อำเภอเมืองสตูล
 ๒. อำเภอละงู
             ๓. อำเภอควนกาหลง
      ๔. อำเภอทุ่งหว้า
         ๕. อำเภอควนโดน
     ๖. อำเภอท่าแพ
     ๗. อำเภอมะนัง

๒) แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล
        สตูลเป็นเมืองเล็กๆ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ของธรรมชาติ
      
๑.ถ้ำเลสเตโกดอน 
     ถ้ำเลที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย เพราะมีความยาวกว่า ๔ กิโลเมตร  ส่วนคำว่า สเตโกดอนคือชื่อของช้างดึกดำบรรพ์ เนื่องจากมีการพบฟอสซิลของช้างสเตโกดอนในถ้ำแห่งนี้และพบหินรูปร่างแปลกตา จึงนำมาซึ่งการสำรวจถ้ำและค้นพบซากฟอสซิลอีกมากมายภายในถ้ำนี้  และตามผนังถ้ำเราก็ยังพอเห็นฟอสซิลของสาหร่ายทะเลอีกด้วย
     การเดินทางไปเที่ยวถ้ำด้านหน่าจะพบกับสะพานแขวน และทางลงสู่ปากทางเข้าถ้ำเลสเตโกดอน นักท่องเที่ยวสามารถโดยสารเรือแคนูเป็นพาหนะพาเข้าไปชมทั้งความงามและความมหัศจรรย์ของถ้ำนี้
ภายในถ้ำเล สเตโกดอนนั้น นอกจากความสวยงามของหินต่างๆ ภายในถ้ำแล้ว ที่นี่ยังมีน่าสนใจอย่างเช่นฟอสซิลของซากพืช ซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่มีอายุโดยเฉลี่ยถึง ๕๐๐  ล้านปีที่ยังหลงเหลืออยู่อีกด้วย เหมาะสำหรับคนรักการท่องเที่ยวแบบแอดเวนเจอร์และรักธรรมชาติอย่างยิ่ง

 à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง   

๒. สันหลังมังกร
     หรือทะเลแหวกสันหลังมังกร คือคำเรียกขานเกาะแห่งหนึ่งของชาวชุมชนตันหยงโป จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์กลางทะเลอันดามัน
     ในยามน้ำทะเลลดลงจะดูเหมือนกระแสน้ำหลีกทางให้สันทรายโผล่ขึ้นมาซึ่งเป็นสันทรายที่เต็มไปด้วยซากเปลือกหอยนับหลายล้านตัวทับถมกัน ทำให้เกิดเป็นเส้นทางคดเคี้ยวยาวกว่า ๓กิโลเมตรสามารถเชื่อมไปยังอีกเกาะหนึ่งได้ หรือเปรียบเสมือนกับมังกรฟ้าถลาลงเล่นน้ำทำให้นักท่องเที่ยวได้เดินบนสันหลังมังกรที่เคลื่อนไหวพลิ้วอย่างสวยงาม จึงเป็นที่มาของชื่อหาดแห่งนี้
     ทะเลแหวกสันหลังมังกร เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมทัวร์ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดเพราะเดินทางสะดวก โดยนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นเรือท่าเรือบ้านบากันเคย ตำบลตันหยงโปได้เลย และจะมีชาวบ้านชุมชนบากันเคยนำเรือหางยาวมาคอยให้บริการทุกวัน ใช้เวลาเดินทางเพียง  20 นาที
    
๓. อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
     ชาวบ้านรู้จักกันในอีกสมญานามว่าตำนานหมู่เกาะทะเลใต้เป็นอุทยานแห่งชาติที่ยังคงความงดงามและสมบูรณ์ของเกาะไว้ได้ จนได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก้ให้เป็นมรดกแห่งอาเชียนในปี พ.ศ.๒๕๒๕
ตะรุเตาเป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า ตะโละเตราในภาษามลายู แปลว่า มีอ่าวมาก ตะรุเตาเป็นอุทยานแห่งชาติที่อยู่ในทะเลอันดามันบริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ทางด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติห่างจากชายแดนไทย-มาเลเซีย เพียง ๔.๘กิโลเมตรประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่จำนวน 51 เกาะ รวมทั้งพื้นที่บนเกาะและทะเลประมาณ ๙๓๑,๒๕๐ ไร่ หรือ ๑,๔๙๐ ตารางกิโลเมตร
     อุทยานแห่งชาติตะรุเตาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในความใฝ่ฝันของนักท่องเที่ยวเนื่องจากเป็นจุดรวมของความงามที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ ทั้งบนเกาะและในน้ำมีป่าที่อุดมสมบูรณ์เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิดในน้ำก็งดงามด้วยกลุ่มปะการังหลากสีสวยสด จนเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่วโลก
    
๔.ถ้ำภูผาเพชร
     ถ้ำขนาดใหญ่ติดอันดับ ๔  ของโลก  มีเนื้อที่ภายในถ้ำกว่า ๕๐ ไร่ ธรรมชาติได้รังสรรค์ความงามไว้อย่างน่าอัศจรรย์มีเพดานถ้ำสูงโปร่ง มีหินงอกหินย้อยสวยงาม ซึ่งมีอายุมากกว่าร้อยล้านปีจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑ นักโบราณคดีได้เข้าสำรวจบริเวณถ้ำตามคำเล่าของพระธุดงด์นามว่าหลวงตาแผลงผู้ค้นพบถ้ำแห่งนี้
จากหลักฐานนักโบราณคดีได้สันนิษฐานว่า ถ้ำภูผาเพชรแห่งนี้น่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ประมาณ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว โดยพบหลักฐานทางโบราณคดี  กระดูกมนุษย์ยุคโบราณส่วนกะโหลกศีรษะ พบเศษภาชนะดินเผาเคลือบลายเชือกทาบ  ที่ก้นภาชนะมีเปลือกหอยยึดเกาะ
ภายในถ้ำจัดสรรแบ่งเป็นห้องต่างๆ  ๒๐ ห้อง มีไฟส่องสว่างตามทางเดิน มีการตั้งชื่อแต่ละห้องตามธรณีสัณฐานที่พบเห็นเช่น ห้องม่านเพชร  มีลักษณะคล้ายผ้าม่านแขวนเป็นหลืบซ้อนกัน ห้องพญานาค  มีหินงอกต่อตัวกันคล้ายงูใหญ่หรือพญานาค
ส่วนประเภทของหินงอกก็จะมีชื่อต่างๆ ตามรูปทรงที่พบเห็นมีมากถึง  ๓๑  แห่ง เช่น  ดอกเห็ด  ซุ้มประตู หัวแหวนเพชร สายน้ำเพชร หัวพญานาค เศียรพระ
     
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ถ้ำภูผาเพชร


๕.เกาะหลีเป๊ะ
     เกาะงามแห่งทะเลอันดามัน ที่ได้รับการขนานนามว่ามัลดีฟส์เมืองไทย เกาะหลีเป๊ะอยู่ทางตอนใต้ของเกาะอาดัง สถานที่ท่องเที่ยวรอบเกาะหลีเป๊ะมีมากมาย เช่น แนวปะการังอยู่ด้านใต้ของเกาะมีและอ่าวเล็ก ๆ มากมาย โดยจะมีชาวบ้านคอยให้บริการเช่าเรือเพื่อท่องเที่ยวไปยังเกาะรอบๆ ซึ่งเต็มไปด้วยแนวปะการัง
บนเกาะหลีเป๊ะมีหาดพัทยา ซึ่งเป็นหาดที่มีความสวยงามที่สุดและนักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อน นอนเล่นอาบแดด มีหาดซันไรซ์ ที่เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม และเงียบสงบ และหาดซันเซ็ต ที่เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกได้อย่างสวยงาม
นอกจากนี้ยังมีเกาะเล็กๆ อีกแห่งหนึ่งตรงข้ามกับหมู่บ้านคือ เกาะกระเป็นเกาะที่ได้รับการอนุรักษ์แนวปะการังไว้อย่างดี เหมาะสำหรับการดำน้ำชมความสวยงามของแนวปะการัง
     


  à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ เกาะหลีเป๊ะ   

๖. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล คฤหาสน์กูเด็น
     จัดแสดงในคฤหาสน์กูเด็น สร้างขึ้นโดยพระยาภูมินารถภักดี หรือตวนกูบาฮารุตดิน บินตำมะหง เจ้าเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๑-๒๔๕๙  เป็นสถาปัตยกรรมยุโรปแบบโคโลเนียล สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จปักษ์ใต้ แต่มิได้ประทับแรมต่อมาจึงใช้เป็นบ้านพักและศาลาว่าการเมืองสตูล
     จนกระทั่งในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ใช้เป็นกองบัญชาการทหารญี่ปุ่น สำนักงานเทศบาล ศาลากลางจังหวัดสตูล โรงเรียนเทศบาล๑ แล้วจึงใช้เป็นสำนักงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูลเป็นอาคาร ๒ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส จัดแสดงนิทรรศการและส่วนบริการ ๑๐ ห้องดังนี้
ห้องที่ ๑ ห้องข้อมูลข่าวสารห้องที่๒ ห้องภูมิหลังเมืองสตูลห้องที่ ๓ห้องประชาสัมพันธ์ห้องที่ ๔ ห้องวิถีชีวิตชาวสตูลห้องที่ ๕ ห้องจัดแสดงนิทรรศการชั่วคราวห้องที่๖ ห้องบ้านเจ้าเมืองห้องที่ ๗ห้องเรือนชานชาวบ้านห้องที่ ๘ ห้องรับแขกร่วมสมัยกูเด็นห้องที่ ๙ ห้องวัฒนธรรมชาวไทย-มุสลิมห้องที่ ๑๐ ส่วนชั้นดาดฟ้า
     
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คฤหาสน์กูเด็น


     
๗.เกาะหินงาม
        "เกาะหินงาม" แหล่งท่องเที่ยวขนาดเล็กทางทิศใต้ของเกาะอาดัง ที่มีความโดดเด่นบริเวณชายหาดที่เต็มไปด้วยหินสีดำกลมเกลี้ยง ซึ่งมีลวดลายสวยงาม ขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกันไป เมื่อโดนคลื่นซัดก้อนหินจะมีความมันวาว ส่วนบริเวณกลางเกาะจะมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้สีเขียว อีกทั้งยังมีความเชื่อเล่ากันว่าหินทุกก้อนมีคำสาปของเจ้าพ่อตะรุเตาหากใครนำติดตัวไปจะเกิดหายนะ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกาะหินงาม

๒)     งานเทศกาล ประเพณีของจังหวัดสตูล
     งานเทศกาล ประเพณี ประจำจังหวัดสตูล
     
๑.งานมหกรรมเทศกาลโรตีของดีเมืองสตูล
     เป็นการแสดงและจำหน่ายโรตีของจังหวัดสตูล ที่มีหลากหลายประเภท โดยเฉพาะการจัดทำโรตีลอยฟ้า การโชว์ชาชัก โดยจะจัดเดือนมกราคมของทุกปี
     
๒.งานแข่งขันว่าวประเพณีจังหวัดสตูล
     จัดการแข่งขันครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ มีว่าวเข้าแข่งขันประมาณ ๕๐ ตัว และได้มีการจัดการแข่งขันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างความสัมพันธ์อันดี กับประเทศเพื่อนบ้านโดย จะจัดขึ้นในเดือน กุมภาพันธ์  ของทุกปี ณ บริเวณสนามบินสตูล ก่อนถึงเขตเทศบาลเมืองสตูลประมาณ ๔ ก.ม.

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ งานว่าวสตูล
     


๓. งานประเพณีลอยเรือของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ
     ซึ่งทำกันปีละ ๒ครั้ง คือ ในเดือน ๖ (มิถุนายน) และเดือน ๑๒ (ธันวาคม) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลอยบาปและเป็นการเสี่ยงทายในการประกอบอาชีพได้กระทำกันมานานแล้ว ผู้ริเริ่ม คือ โต๊ะฮีหลีซึ่งชาวเลถือว่าเป็นบรรพบุรุษคนสำคัญ เพราะเป็นผู้บุกเบิกเกาะนี้เป็นคนแรก และเป็นที่เคารพนับถือของชาวเลเป็นอย่างยิ่งในขณะมีชีวิตอยู่
     
๔.งานวันจำปาดะและของดีเมืองสตูล
     เป็นการแสดงสินค้าผลิตผลด้านการเกษตรโดยเฉพาะผลไม้ที่สำคัญของจังหวัด จัดเดือน กรกฎาคม ของทุกปี
    
๕. งานมหกรรมอาหารจานเด็ดและของดีเมืองสตูล
     เป็นงานแสดงฝีมือการทำอาหาร พื้นบ้านของชาวสตูล ภายในงานมีอาหารจำหน่ายจำนวนมากล้วนเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ ของจังหวัดสตูล โดยจะจัดงานประมาณเดือนสิงหาคมของทุกปี
     
๖. งานประเพณีถือศีลกินเจ
     เป็นงานประเพณีของคนไทย เชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสตูล จัดขึ้นประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ณ บริเวณศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง อำเภอเมืองสตูล เทศกาลกินเจเป็นความเชื่อของชาวจีนที่ถือเอาวันที่ 1 เดือน 9 ของทุกปี

    à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง 


ขอขอบคุณที่มา


วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เราคือนักกีฬา We are athletes


    เรื่องราว...ที่ผมจะมาเล่าในวันนี้ผมขอเล่าเป็นเรื่องราวของตัวผมเองนั้นก็คือ...การเป็นนักกีฬา
ส่วนกีฬาที่ผมเล่นก็คือ...วอลเล์บอล ประเภทชายหาดผู้ชาย  ผมเริ่มเล่นตั้งแต่อายุประมาณ 10 ปี  แต่ตอนนั้นผมยังไม่ได้เล่นแบบจริงจังอะไรมากนัก แต่ว่า...ผมก็มาเริ่มเล่นแบบจริงจังก็ตอน ม.2 ตอนที่ผมอายุ 14 ปี คือปัจจุบันนี้แหละครับ  คือผมได้ไปเป็นตัวแทนของโรงเรียนได้ไปแข่งขันรุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี เป็นการแข่งขันของจังหวัด  
การเล่นวอลเลย์บอลชายหาดมีสองคน และนี้คือคู่ของผมชื่อว่าโอ๊ค


และแน่นอนว่าต้องมีครูฝึก  ครูของผมมีสองคนชื่อว่าพี่ฟาร์และพี่วิซึ่งเป็นศิษย์เก่าและนักวอลเล์เก่าของโรงเรียน


หลังจากการแข่งขันจบผลก็ปรากฎออกมาว่า...โรงเรียนของเราได้ที่ 1 คือรางวัลเหรียญทอง  นั้นเลยกลายเป็นความภาคภูมิใจของผมและเพื่อนมาจนถึงทุกวันนี้
#ที่หนึ่งจร้า ^^


หากใครมีคำแนะนำและคำติชมใดๆก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้  และถ้าหากใครต้องการติดตามเรื่องราวของผมก็สามารถกดติดตามได้เลยครับ  


ขอบคุณครับ!!!!






  

วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ร้านรองท้อง @ สตูล




       วันนี้ผมก็จะเล่าถึงการประกอบอาชีพของชาวสตูลเช่นเดิม แต่ว่า...อาชีพที่ผมจะกล่าวถึงในวันนี้ก็คือ...การเปิดร้านอาหาร  พูดถึงร้านอาหารในจังหวัดสตูล  หลายคนอาจคิดว่า... ร้านอาหารที่ผมจะเล่าต่อไปนี้มันต้องเป็นร้านอาหารชื่อดัง และต้องอร่อย และร้านอาหารที่ผมจะพูดถึงมันต้องอร่อยแน่นอน  แต่ว่า...หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้จัก  นั้นก็คือร้านที่มีชื่อว่า...ร้าน ALL ABOUT EAT หรือชื่อที่รู้จักกันมากของชาวสตูลสำหรับร้านนี้ก็คือ...ร้านกินกัน  ปัจจุบันร้านกินกันมีสองสาขา สาขาที่หนึ่งก็คือสาขาที่ผมนำมาเล่าวันนี้เป็นร้านของร้าน  และสาขาที่สองก็จะเป็นของคาวนั้นก็คือชาบู ถ้าหากว่าท่านใดผ่านมาจังหวัดสตูลก็สามารถมาอุดหนุนกันได้นะครับ....

วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คนกรีดยาง Rubber tree

            สวัสดีครับผมกีน... นี้คือการทำบล็อกครั้งแรกของผม  วันนี้ผมก็จะมาเล่าถึงวิถีชีวิตของชาวสตูล  หลายคนอาจจะคิดว่าวิถีชีวิตคือการใช้ชีวิตประจำวันหรือว่าความเป็นอยู่ แต่นั้นอาจเป็นความถูกต้องแค่ส่วนหนึ่ง แต่สิ่งที่ผมจะกล่าวนอกเหนือจากนี้ก็คือ... การประกอบอาชีพของชาวสตูล  และแน่นอนว่ามันต้องเป็นอาชีพที่สุจริต  และยังถือได้ว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพต้นๆของชาวสตูลเลย นั้นก็คืออาชีพกรีดยาง อดีตราคายางกิโลกรัมละเกือบ 100 บาท แต่ว่า...ปัจจุบันราคายางมีราคาตำ่คือราคาอยู่ที่ประมาณ 40-50 บาท และปัจจุบันราคาของไม้ยางมีราคาสูง  นั่นเป็นเหตุทำให้ประชาชนหลายครอบครัวในจังหวัดสตูล ได้ล้มไม้ยางขายและนำที่ดินไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแทน แต่ว่า...ยังมีประชาชนส่วนใหญ่ในจังหวัดที่ยังกรีดยางอยู่เช่นเดิม....